ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ
มาลองดูกัน ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของคลื่นลูกที่ 1,2,3 และ 4

ความแตกต่างของคลื่นลูกที่ 1,2,3 และ 4
ช่วงที่หนึ่ง (คลื่นลูกที่หนึ่ง)  เป็นอารยธรรมที่มาพร้อมกับสังคมเกษตรกรรม มนุษย์มีการทำเกษตรและอยู่รวมกันเป็นชุมชน เป็นผู้ผลิตและบริโภคผลผลิตของตน
ช่วงที่สอง (คลื่นลูกที่สอง)  เป็นอารยธรรมอุตสาหกรรม มนุษย์ได้นำพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  มีตลาดเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่างๆ จากที่มนุษย์เคยอยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ๆ ก็เกิดการโยกย้ายไปทำงานในตัวเมือง
ช่วงที่สาม (คลื่นลูกที่สาม)  เป็นอารยธรรมเทคโนโลยีชั้นสูง มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในหารสร้างสิ่งต่างๆ มากมาย แต่จะแตกต่างจากคลื่นลูกที่สองคือ พลังงานและทรัพยากรที่ใช้สามารถสร้างขึ้นทดแทนได้
หากคลื่อนลูกที่ 3 ของ Alvin Toffler คือ การปฏิวัติข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ โดยมีเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหัวขบวนแล้วอะไรคือคลื่นลูกที่สี่ ? ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตดังนี้

1.
ช่วงระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์กับคลื่นลูกที่หนึ่งใช้วเวลาหลายหมื่นปีและจากคลื่นลูกที่หนึ่งมาคลื่นลูกที่สองใช้เวลาประมาณ 5 พันปีแต่ระยะห่างระหว่างคลื่นลูกที่ 2 กับคลื่นลูกที่ 3 กลับใช้เวลาเพียงสองร้อยกว่าปี

2.
คลื่นแต่ละลูกเชี่ยมโยงกันอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างทักษะการล่าสัตว์และการเก็บผักผลไม้ตามป่าทำให้มนุษย์มีองค์ความรู้การเกษตร (คลื่อนลูกที่หนึ่ง) และเมื่อผลผลิตการเกษตรมีมากขึ้นอุตสาหกรรมแปรรูปจึงเกิดขึ้น (คลื่นลูกที่สอง)
เมื่อเกิดความหลากหลายในรูปแบบของตัวผลิตภัณฑ์มนุษย์จึงมีความจำเป็นที่ต้องบริหารจัดการข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้น มนุษย์จึงมีความจำเป็นที่ต้องบริหารจัดการข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้น (คลื่นลูกที่สาม) และเมื่อข้อมูลข่าวสารถูกเผยแพร่สู่สายตาของสารธารณะอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือ การแตกแขนงของปัญญา ที่เกิดขึ้นในทุกส่วนของภูมิภาค

Maynard
และ Mehrtens ได้ตั้งข้อสังเกตถึงปรากฏการณ์ทางสังคมที่
กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่หนึ่งว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นลูกที่สี่เช่น

1.
ยกเลิกเทคโนโลยีต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมอันเป็นผลพวงจากคลื่นลูกที่สองและคลื่นลูกที่สาม
2.
การเสื่อมถอยของสังคมมนุษย์อันเนื่องมาจากพัฒนาเทคโนโลยีที่ปราศจากศีลธรรม
3.
ได้เกิดขบวนการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน
4.
ปรากฏการสังคมใหม่ในโลกของระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง
5.
ความคล่องตัวและง่ายในการกระจายข้อมูลข่าวสารแบบไร้พรมแดนอย่างรวดเร็ว
6.
มีการนำเอาแนววามคิดในเชิงปรัชญากลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบังคับในสถานศึกษา
7.
การอุบัติขึ้นของความคิดที่หลากหลายและยอมรับฟัง นำมาต่อยอด
8.
ความต้องการองค์กรแห่งการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นและเสาะหาได้ในราคาถูกและง่ายดาย
9.
การลิดรอนอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศโดยกระแสท้องถิ่นนิยม
หากมองดูเหตุการณ์โลกในช่วงที่ผ่านมายืนยันชัดเจนว่าคลื่นลูกที่สี่กำลังก่อตัวขึ้นแล้วทั้งในสังคมโลกและสังคมไทย
ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์  จาก http://www.learners.in.th/blog/nong-rmutp3/450910
นางสาววรรรดี สองศรี การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น