ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ
มาลองดูกัน ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาบทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสาระสนเทศ

สรุปบทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสาระสนเทศ
แนวคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหา
          เป็นระบบที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีเพื่อตอบคำถามนี้ นี่คือกระบวนการแก้ปัญหาที่เรียกว่า แนวคิดเชิงระบบ การวิเคราะห์คามิลอทมิวสิค คามิลอทได้เผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจ จากการตัดราคาในการขายซีดีอย่างรุนแรงพวกเขาได้จัดการปัญหานี้ด้วยการใช้กลยุทธ์การตั้งราคาขายที่ไม่ตายตัว โดยจะตั้งราคาตามสถานการณ์การแข่งขันของแต่ละสาขาและความถี่ในการซื้อของลูกค้าแต่ละราย
แนวคิดเชิงระบบ
          จากการคิดค้นของบริษัทวิจัยการตลาดของNFO โดยใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของ Talk City ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสาระสนเทศช่วยในการทำงานชองกลุ่มเป้าหมายออนไลน์ช่วยในการพัฒนาสินค้า ช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆ ระบบสาระสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพิ่มบทบาทในธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในขั้นตอนการทำงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น
กำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ไข
            ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบ ปัญหาสามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นภาระพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไขคือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การคิดอย่างเป็นระบบ
            ทำให้เข้าใจปัญหาและโอกาสในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ปีเตอร์ เซนก์ กฎข้อที่ 5 ว่าการจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฎข้ออื่นๆ ได้แก่ การควบคุม การไม่อคติและไม่ท้อแท้ การแบ่งบันวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้เป็นทีมงาน ช่วยเติมเต็มความสามารถของบุคคลและความสำเร็จในธุรกิจของโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆ มีแนวทางในการแก้ปัญหาหลายวิธี อย่าใช้วิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว
การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง โดยอาศัยผู้ใช้เจ้าหน้าที่เทคนิค เพื่อช่วยในการออกแบบรายระเอียดและการนำไปใช้ ดังนั้น การออกแบบรายระเอียดและแผนการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับระบบการส่งเสริมการขายด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
-                   ประเภทและแหล่งของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องจัดหาสำหรับพนักงานขาย
-                   ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่
-                   การฝึกอบรมพนักงานขายและพนักงานอื่นๆ
-                   การปรับระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่และกำหนดตารางเวลาในการนำไปใช้จริง
การประเมินหลังการนำไปใช้
           ขั้นตอนสุดท้ายของแนวคิดเชิงระบบ คือการตระหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้อาจล้มเหลวได้ ดังนั้น ควรจับตามองและประเมิน เรียกว่า กระบวนการทบทวนหลังการนำไปใช้
วงจรการพัฒนาระบบ
            เมื่อแนวคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกประยุกต์สู่การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาด้านธุรกิจด้วยระบบสาระสนเทศ
การศึกษาความเป็นไปได้
           เนื่องจากกระบวนกาพัฒนาระบบสาระสนเทศมีค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการสำรวจระบบในการศึกษา เรียกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาขั้นต้นเพื่อสืบค้นหาความต้องการของสาระสนเทศในมุมมองของผู้ใช้และหาข้อสรุปของแหล่งข้อมูลที่ต้องการ ราคา ผลประโยชน์ที่จะได้รับและความเป็นไปได้ของโครงการ
-                   เป้าหมายของการศึกษาความเป็นไปได้ขององค์กร คือ ระบบสาระสนเทศที่เสนอมานั้นเข้ากันได้ดีเพียงใดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรและแผนกลยุทธ์ด้านระบบสาระสนเทศ
-                   ความเป็นไปได้ทางเทคนิค แสดงถึงความน่าเชื่อถือของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารถทำตามความต้องการของระบบที่นำเสนอได้
-                   ผลประโยชน์เชิงรูปธรรม เป็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ เช่น การลดของค่าจ้าง
การวิเคราะห์ระบบ
            เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องการพัฒนาระบบงานใหม่อย่างรวดเร็วหรือเกี่ยวข้องกับโครงการระยะยาวคุณจะต้องจัดทำกิจกรรมเบื้องต้นของการวิเคราะห์ระบบที่ขยายผลมาจากการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งจะใช้เป็นฐานการออกแบบระบบสาระสนเทศใหม่
การวิเคราะห์องค์กร
             เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการวิเคราะห์ระบบ จะปรับปรุงระบบสาระสนเทศต้องรู้เรื่องรายระเอียดของหน่วยธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงลงไปหรือกลุ่มผู้ใช้ที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงหรือจัดทำระบบใหม่ตามที่ได้วางแผนไว้
การวิเคราะห์ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
           สิ่งสำคัญที่จะต้องศึกษาคือระบบเดิมที่จะปรับปรุงหรือถูกแทนที่วิเคราะห์การใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายและบุคลากร เพื่อจะทำการถ่ายทอดข้อมูลเดิมไปสู่ระบบใหม่
การวิเคราะห์ความต้องการในการใช้งาน
-                   ความต้องการด้านส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การส่งข้อมูลของผู้ใช้ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบสาระสนเทศ
-                   ความต้องการด้านกระบวนการ รับข้อมูลเข้าเพื่อประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมา
-                   ความต้องการในด้านการจัดเก็บ การจัดการเนื้อหา ขนาดฐานข้อมูล เป็นต้น
-                   ความต้องการในด้านการควบคุม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความปลอดภัย เป็นต้น
การออกแบบระบบ
             จะกำหนดว่าระบบจะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ประกอบด้วยกิจกรรมในการออกแบบ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการใช้งานที่ต้องการตามขั้นตอนในการวิเคราะห์ระบบ
 ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ข้อมูลและกระบวนการออกแบบ
การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้มุ่งเพื่อสนับสนุนการทำงานระหว่างผู้ใช้และระบบงานของคอมพิวเตอร์ นักออกแบบต้องออกแบบที่ดึงดูดใจและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้ในการนำเข้าและแสดงผล
การออกแบบข้อมูล
เน้นการออกแบบโครงสร้างของไฟล์และข้อมูลสำหรับใช้ในระบบสาระสนเทศที่วางแผนไว้ ให้รายละเอียดในเรื่องของ
-                   ลักษณะประจำหรือลักษณะเฉพาะของเอนทิตี
-                   ความสำพันธ์แต่ละเอนทิตีที่มีต่อกัน
-                   กำหนดส่วนประกอบของข้อมูลย่อย
-                   กฎบูรภาพซึ่งจัดการแต่ละข้อมูลย่อยในการกำหนดและการนำไปใช้
กระบวนการออกแบบ  เน้นเรื่องการออกแบบทรัพยากรซอฟต์แวร์ ที่เป็นที่นิยมจะใช้ Three-tier
การกำหนดรายระเอียดของระบบ
 หมายถึง วิธีการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ของระบบงาน โครงสร้างของฐานข้อมูล การประมวลผล และการควบคุมขั้นตอนการทำงาน
การสร้างต้นแบบ
           เป็นพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลองหรือต้นแบบของระบบงานใหม่ในการโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยกคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่าการรวนรอบ
กระบวนการสร้างต้นแบบ
           สามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิมต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดจากความต้องการจากผู้ใช้จะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำ
การใช้งานระบบสาระสนเทศใหม่
           ถาระกิจในการนำระบบไปใช้จริง เกี่ยวข้องกับการซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และบริการ การพัฒนาหรือดัดแปลงซอฟต์แวร์ การฝึกอบรมผู้ใช้ การทำเอกสารของระบบ การโอนระบบเก่า ต่อไป
การบำรุงรักษาระบบสาระสนเทศ
          เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ประเมินและปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้เป็นตามที่ต้องการหรือที่จำเป็น
อ้างอิง
             จากเอกสารประกอบการเรียนวิชา ระบบสาระสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร อาจารย์ ทาริกา รัตนโสภา
นางสาววรรณดี สองศรี สาขา การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น