ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ
มาลองดูกัน ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตอบคำถามกรณีศึกษา บริษัท โนเกีย

ตอบคำถามจากกรณีศึกษา
กรณีศึกษา : บริษัท Nokia
1. ท่านคิดว่า บริษัท Nokia ตัดสินใจกระโดดข้ามมาทำธุรกิจคอมพิวเตอร์แล็ปทอป เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ
 ตอบ  จากความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ความน่าเชื่อถือของโนเกียในด้านของแล็ปทอปยังมีน้อยในด้านนี้ อีกทั้งบริษัทคู่แข่งขันนั้นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในสายตาของผู้บริโภค เป็นผลให้การทำการตลาดเพื่อแบ่งส่วนตลาดเป็นไปได้ยาก
2. "โนเกียควรปกป้องตลาดมือถือของตนเองต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องลงมาทำตลาดคอมพิวเตอร์ให้เสียเวลา ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากมายอย่างตลาดของ Smart-Phone ที่โนเกียสามารถรุกเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจัง" อยากทราบว่า Smart-Phone คืออะไร และท่านเห็นดัวยกับกลยุทธ์ตามดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ อย่างไร
 ตอบ
  • Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว 
  • จากข้อความผมเห็นดัวย เนื่องจากถ้าพิจารณาจากตลาดมือถือยังถือว่ากว้างมาก นอกจากนั้นโนเกียยังเป็นยี่ห้อมือถือที่ลกค้าให้ความเชื่อมั่น ควรตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากจะเป็นการดีที่สุด
3. บริษัท Apple ซึ่งเดิมเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในนามของ Macintosh ที่ได้ขยายธุรกิจข้ามมายังอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในนามของ iPhone และยังสามารถยืนหยัดทำสำเร็จจนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ท่านคิดว่าบริษัท Apple ได้ชูกลยุทธ์ใดในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
 ตอบ  Apple ได้ชูกลยุทธ์ด้านการออกแบบสินค้า โดยออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ที่ชอบเทคโนโลยี ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนที่มีรายได้สูง
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

ตอบคำถามกรณีศึกษา ของ บริษัท ยาสีฟันเดนทิสเต้

คำถามจากกรณีศึกษา
1. ทำไมยาสีฟันเดนทิสเต้ จึงหนีการเผชิญหน้าเพื่อแข่งขันโดยตรงกับยาสีฟันยักษ์ใหญ่
     ตอบ เพราะว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ทีมีงบไม่อั้น จึงทำให้เดนทิสเต้ไม่อยากที่จะแข่งขันด้วย
2. เดนทิสเต้ได้นำกลยุทธ์อะไรเป็นตับขับเคลื่อน และทำไมจึงใช้กลยุทธ์ดังกล่าว
     ตอบ  กลยุทธ์ที่ใช้ คือ กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พร้อมมุ่งเป้าไปที่คู่เพิ่งแต่งงานกัน เหตุที่ใช้เพราะว่า เดนทิสเต้ต้องการสร้างความแตกต่างจากยาสีฟันยี่ห้ออื่น รวมทั้งใช้เป็นจุดขายของเดนทิสเต้อีกด้วย
3. ปัจจัยสำคัญอะไร ที่ยาสีฟันเดนทิสเต้ สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดได้ในระยะเวลาอันสั้น
     ตอบ มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่ยาสีฟันทั่วไป จะดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก และช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เดนทิสเต้ มีจุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วยลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลับนอน อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการได้ คือ การมีลักษณะเด่นและความแตกต่าง
4. สมมติว่าท่านได้รับภาระหน้าที่ในการเจาะตลาดยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง ท่านจะใช้กลยุทธ์ใด และจะกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้ลักษณะเด่นอะไรที่คิดว่ายังพอมีศักยภาพในการทำกำไร รวมทั้งสร้างความพึงพอใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     ตอบ กลยุทธ์การให้ข่าวสาร (Public Relation Strategy) เช่น การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
      - กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal Strategy) เช่น คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย (Incentive Program) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสูง ราคาสูง เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า ยี่ห้อยาสีฟันชนิดนี้มีคุณประโยชน์และคุณค่าในสายตาผู้บริโภค

นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตอบแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

ตอบแบบฝึกหัดท้ายบท
1. ตอบ ประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูล ระเบียนหรือออบเจ็กต์ที่มีการเพิ่ม ลบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจากรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สารสนเทศถูกผลิตเพื่อตอบโต้กับคำร้องขอของผู้ใช้
2. ตอบ - การจัดการฐานข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
      - การบริหารฐานข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
           - การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
3. ตอบ คือ เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูลและการจัดการทรัพยากรข้อมูลที่เป็นระบบ
4. ตอบ รวบรวมระเบียนระเบียนและออบเจ็กต์ ให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ เรียก ระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล ที่ช่วยผู้ใช้ให้เข้าถึงระเบียนในฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
5. ตอบ โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน
โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย
โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป
6. ตอบ ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
            เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
            ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง
7. ตอบ - ฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมระเบียนที่เก็บในรูปแบบแฟ้ม เป็นอิสระจากอุปกรณ์ที่จัดเก็บ
             - คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
             - ตลาดข้อมูล เป็นที่ที่มีแหล่งข้อมูลที่มีมาก เพื่อให้ผู้บริหารได้ทำการเลือกใช้ตามความต้องการ
8. ตอบ โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ
9. ตอบ เป็นซอฟแวร์ที่สำคัญในการจัดการหน้าสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติและข้อมูลประเภทอื่น ที่สนับสนุนเว็บไซท์ขององค์กรเป็นเพราะ OODBMS สามารถจัดการเรื่องการเข้าถึงและจัดเก็บออบเจ็กต์ เช่น เอกสาร ภาพกราฟิก วีดีทัศน์ อื่นๆ ได้โดยง่าย
อ้างอิง http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it04/page01.html
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2เลขที่ 1

ตอบคำถามกรณีศึกษาบทที่ 4

ตอบคำถามกรณีศึกษาบทที่ 4
กรณีศึกษาจริง
Sears, MCI และ First American: คลังข้อมูลกับสารสนเทศภายนอก
ตอบคำถามกรณีศึกษา
1. ศึกษาข้อมูลการบริโภคของประชากรในคลังข้อมูลเพื่อพิจารณาในการตัดสินใจเรื่องสถานที่ตั้งของร้านใหม่ข้อมูลเปรียบเทียบด้านการตลาดผลการดำเนินธุรกิจของร้านกับคู่แข่ง ใช้ข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าของตนและของธุรกิจอื่น เพื่อปรับปรุงการโฆษณาการตลาด
2. ข้อมูลภายนอกเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้ในด้านการขายและการตลาด แต่ข้อมูลภายนอกมีมูลค่าที่ไม่น้อยเลยทีเดียวและต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้เข้ากันได้กับข้อมูลภายใน
3. ดิฉันคิดว่าเห็นด้วยกับคำนี้ เพราะการแข่งขันทางการตลาดและการหาข้อมูลมาได้นั้นก็ต้องเป็นความลับ นอกจากยังเป็นความลับยังเป็นข้อมูลที่สร้างเงินสร้างผลกำไรให้กับบริษัทมากเลยทีเดียว
กรณีศึกษาจริง
Vtel Corporation: การบูรณาการโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจกับคลังข้อมูล
ตอบคำถามกรณีศึกษา
1. คาดหวังว่าผู้ใช้จะชอบเครื่องมือสำหรับออกรายงานใหม่นี้มีมากกว่าเครื่องมือเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่อนุญาตให้มองหาข้อมูลที่จัดระเบียบในหลายแนวทาง เช่น แผนภูมิพายและกราฟแท่ง จากเดิมที่แสดงในรูปตารางเท่านั้น
2. คลังข้อมูลช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจ ทำให้สามารถวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้ ผู้อำนวยการเขตการขายสามารถเข้ามาในคลังได้ทุกวันและค้นหา แทนที่จะรอคอยรายงานที่มาจากการเงิน
3. การเปลี่ยนไปยังคลังข้อมูลสำเร็จรูปแบบบูรณาการและโปรแกรมประยุกต์จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่ยากที่สุด สิ่งท้าทายคือการทำให้ทุกคนพอใจกับความต้องการโดยเจ็บปวดน้อยที่สุดและยังคงสร้างสิ่งที่เราสามารถสนับสนุนได้ตามปกติ
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2  เลขที่ 1

สรุปบทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

สรุปบทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร
อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมือนอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อการแบ่งปันสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร ความร่วมมือ และการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ อินทราเน็ตได้รับการป้องกันด้วยมาตรฐานความปลอดภัย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
บริษัทต่างๆใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล เป็นเครื่องมือความร่วมมือ เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า เชื่อต่อไปยังอินเทอร์เน็ต และคิดว่าการลงทุนในอินทราเน็ตเป็นเรื่องพื้นฐานเหมือนการติดตั้งโทรศัพท์ให้แกพนักงาน
การสื่อสารและความร่วมมือ อินทราเน็ตสามารถปรับปรุงและความมือภายในองค์กร
งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ มีความง่าย ความสวยงามน่าสนใจ ต้นทุนที่ต่ำของการจัดพิมพ์และการเข้าถึงสารสนเทศธุรกิจสื่อประสมภายในผ่านเว็บไซท์อินอินทราเน็ต
การดำเนินธุรกิจและการจัดการ อินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงานสำหรับการพัฒนาและนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร
จากอินทราเน็ตของ Sun ทำให้ได้ความคิดที่ดีสำหรับโปรแกรมประยุกต์และบริการที่ธุรกิจสามารถนำมาให้พนักงานใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้
-         การเรียกดู 3 แบบ ได้แก่ การเรียกดูระดับองค์กร การเรียกดูตามหน้าที่ และ
การเรียกดูตามภูมิศาสตร์
-         มีอะไรใหม่ๆ                                  -    การเดินทาง
-         ห้องสมุดและการศึกษา                     -    ทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์
-         การตลาดและการขาย                      -    วิทยาเขตของ Sun
-         สารบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์                     -    ชุดบริการ
-         สารสนเทศทางวิศวกรรม                   -    ชุดเครื่องมือก่อสร้าง
ทรัพยากรเทคโนโลยีอินทราเน็ตอินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่มีลักษณะเหมือนอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ ดังนั้น อินทราเน็ตจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของเว็บบราวเซอร์ แม่ข่าย เครือข่ายรับและให้บริการ และฐานข้อมูลสื่อหลายมิติที่สามารถเข้าถึงได้บนอินทราเน็ตและ WWW
มูลค่าทางธุรกิจของอินทราเน็ต
-         การประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์ ช่วยลดการพิมพ์ การส่งไปรษณีย์ และการกระจายต้นทุน
-         การประหยัดต้นทุนการอบรมและการพัฒนา การเข้าถึงสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์จัดพิมพ์เว็บสำหรับอินทราเน็ตที่ง่ายกว่าวิธีการเดิมมาก
บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิดหรือเอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้าและเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน
มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของเอ็กซ์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ
ระบบความร่วมมือองค์กร
เป้าหมายของระบบความร่วมมือองค์กร คือ การสามารถทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
-         การติดต่อสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศกับผู้อื่น
-         การประสานงาน ประสานความพยายามในเรื่องงานของแต่ละบุคคลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
-         ความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในโครงการร่วมและงานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร
เป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น จึงใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูลและครือข่าย เพื่อนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาของทีม
กรุ๊ปแวร์สำหรับความร่วมมือองค์กร กรุ๊ปแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้สารสนเทศร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลายๆโครงการ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้เอกสารร่วมกัน
เครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
-         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ
-         โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและโทรสาร เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียง และนำสู้การสนทนาสองทาง
-         งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ เป็นเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับความร่วมมือองค์กร ได้แก่ ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์
เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยให้ผู้ใช้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งปันสารสนเทศทำงานร่วมกันที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
-         การประชุมข้อมูล ผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูแก้ไข ปรับปรุง บันทึกการแก้ไขลงที่กระดาษสีขาว เอกสาร และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน
-         การประชุมเสียง การสนทนาทางโทรศัพท์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมผ่านทางโทรศัพท์หรือเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต
-         การประชุมทางวีดีทัศน์ แบบทันทีและการประชุมทางไกลโดยเสียง ระหว่างผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่ายหรือระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห้องประชุมที่ต่างสถาบันกัน รวมการใช้กระดาษสีขาวและการแบ่งปันเอกสาร
-         กลุ่มหรือชุมชนสนทนา เตรียมระบบสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อกระตุ้นและจัดการสนทนาข้อความแบบออนไลน์ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษหรือทีมโครงการ
-         ระบบพูดคุย การทำให้ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่าบนเครื่องลูกข่ายสามารถสนทนาข้อความแบบออนไลน์ได้แบบทันที
-         ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องประชุมกับเครื่องลูกข่าย โดยเครื่องฉายภาพจอภาพขนาดใหญ่ และซอฟต์แวร์ EMS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มในระหว่างการประชุมทางธุรกิจ
เครื่องมือการจัดการงานที่ทำร่วมกัน
ช่วยให้คนทำงานได้สำเร็จหรือจัดการกิจกรรมที่ทำงานร่วมกัน
-         ปฎิทินและกำหนดการ การใช้ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์และคุณสมบัติอื่นของกรุ๊ปแวร์เพื่อทำกำหนดการ บอกล่าว หรือเตือนอัตโนมัติแก่สมาชิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทีมและกลุ่มร่วมงานของการประชุม การนัดหมายและเหตุการณ์อื่นๆ
-         งานและการจัดการโครงการ จัดการทีมและกลุ่มร่วมงานโครงการด้วยกำหนดการ การติดตามและทำแผนภูมิสถานะความสำเร็จของงานภายใต้โครงการ
-         ระบบกระแสงาน ช่วยให้คนงานที่มีความรู้เครือข่ายร่วมมือเพื่อทำงานให้สำเร็จและจัดการการไหลของงานที่มีโครงสร้างและการประมวลผลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในกระบวนการทางธุรกิจ
-         การจัดการความรู้ จัดระเบียบและแบ่งปันแบบฟอร์มของสารสนเทศทางธุรกิจที่สร้างภายในองค์กร รวมทั้งการจัดการโครงการและห้องสมุดเอกสารองค์กร ฐานข้อมูลการสนทนา ฐานข้อมูลเว็บไซท์สื่อหลายมิติ และฐานความรู้ประเภทอื่นๆ
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

สรุปบทที่ 4 ภาพรวมของการจัดการ: การจัดการฐานข้อมูล

สรุปบทที่ 4
ภาพรวมของการจัดการ: การจัดการฐานข้อมูล
การจัดการทรัพยากรข้อมูล
ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวคิดข้อมูลพื้นฐาน
-         ตัวอักขระ (Character) ส่วนย่อยของข้อมูลเชิงตรรกะขั้นต้น ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญญาลักษณ์ 1 ตัว
-         เขตข้อมูล(Field) เป็นลำดับต่อไป กลุ่มของอักษร
-         ระเบียน(Record) เขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันถูกจัดเป้นกลุ่มในรูปแบบระเบียน แสดงการรวบรวมคุณสมบัติที่ใช้อธิบายเอนทิตี
-         แฟ้ม(File) กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เรียกแฟ้มหรือตาราง
-         ฐานข้อมูล(Database) เป็นการรวบรวมแบบบูรณาการของระเบียนหรือออบเจ็กต์ในเชิงตรรกะที่สัมพันธ์กัน
แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล
การพัฒนาฐานข้อมูลและซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมเบื้องต้นคือ
-         การปรับปรุงและบำรุงรักษาฐานข้อมูล
-         การเตรียมสาระสนเทศที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
-         การเตรียมความสามารถในการโต้ตอบ ค้นหา และจัดทำรายงาน
การใช้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
1.    การพัฒนาฐานข้อมูล
โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล อนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาฐานข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การควบคุมการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้อยู่ในมือของผู้บริหารระบบหรือผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล ปรับเลี่ยนคุณลักษณะเฉพาะของฐานข้อมูลเมื่อจำเป็น สาระสนเทศถูกจัดทำสารบัญแฟ้มและเก็บลงในฐานข้อมูลและคุณลักษณะเฉพาะ เรียก พจนานุกรมข้อมูล
2.    การสืบค้นฐานข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยใช้ภาษาสอบถามหรือตัวสร้างรายงาน ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน
3.    การบำรุงรักษาฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลขององค์กรต้องการการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากรายการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือเหตุการณ์อื่นๆ
4.    การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
โปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูลมีบทบาทหลักในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ภาษาโปรแกรมยุกต์ที่สี่และสร้างเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์จากโปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูล
ประเภทของฐานข้อมูล
-         ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ เก็บรายระเอียดของข้อมูลที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของทั้งองค์กร เรียก ฐานข้อมูลซับเจ๊กแอเรีย
-         ฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้
-         คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
-         ฐานข้อมูลแบบกระจาย หลายองค์กรทำซ้ำและกระจายสำเนาหรือบางส่วนของฐานข้อมูลไปยังแม่ข่ายเครือข่ายหลายๆ สถานที่ ฐานข้อมูล สามารถติดตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายเครือข่าย www
-         ฐานข้อมูลผู้ใช้ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่พัฒนาโดยผู้ใช้ที่สถานีปลายทาง
-         ฐานข้อมูลภายนอก การเข้าสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อรอง โดยจ่ายค่าธรรมเนียมหรือจากแหล่งต่างๆ บทอินทราเน็ต บน www
การพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรข้อมูล
1.    การบริหารระบบฐานข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรข้อมูลในการใช้เทคโนโลยีจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม
2.    การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
3.    การบริหารข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
            เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
            ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง
โครงสร้างฐานข้อมูล
1.    โครงสร้างเชิงลำดับขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เพราะแต่ละส่วนย่อยข้อมูลมีความสัมพันธ์กับส่วนย่อยเหนือขึ้นไปเท่านั้น ข้อมูลส่วนย่อยหรือระเบียนที่ระดับสูงที่สุดเรียกว่า ราก
2.    โครงสร้างแบบเครือข่าย สามารถแสดงด้วยความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังคงใช้โปรแกรมสำเร็จรูป DBMS บนเมนเฟรม ซึ่งอนุญาตความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
3.    โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ นิยมมากที่สุดมีการนำมาใช้กับโปรแกรมสำเร็จรูป DBMSไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และระบบเมนเฟรมในแบบจำลองเชิงสัมพันธ์นั้นส่วนย่อยข้อมูลทั้งหมดภายในฐานข้อมูลถูกจัดเก็บ ในรูปแบบตารางที่เรียบง่าย
4.    โครงสร้างเชิงหลายมิติ มีความแตกต่างจากแบบจำลองเชิงสัมพันธ์คือใช้โครงสร้างเชิงหลายมิติเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
5.    โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ
เทคโนโลยีเชิงวัตถุและเว็บ
      การเข้าถึงฐานข้อมูล
-         เขตข้อมูลหลัก การที่ระเบียนข้อมูลบรรจุเขตข้อมูลที่เป็นตัวระบุความแตกต่างหนึ่งหรือมากกว่าเป็นกุญแจเพื่อช่วยระบุตำแหน่งของระเบียน
-         การเข้าถึงโดยลำดับ ใช้การจัดระเบียบแบบตามลำดับ ซึ่งระเบียนแบบตามลำดับ ซึ่งระเยนนั้นจัดเก็บทางกายภาพตามลำดับที่กำหนดของเขตข้อมูลหลักแต่ละระเบียน
-         การเข้าถึงโดยตรง ระเบียนจะไม่ต้องมีการจัดเรียงตามลำดับในสื่อหน่วยเก็บ โดยคอมพิวเตอร์ยังคงจัดเก็บแนวตำแหน่งบนหน่วยจัดเก็บของแต่ละระเบียนโดยวิธีโดยตรง
            การพัฒนาฐานข้อมูล ขนาดเล็กกระทำได้โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลสำเร็จรูปไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนอาจเป็นงานที่ซับซ้อนได้
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2  เลขที่ 1