ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ
มาลองดูกัน ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.   เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวลจัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
ในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจในการค้าขาย การผลิตสินค้า และการให้บริการทางสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและการปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง  เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามประกอบการไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น และยังช่วยในการพัฒนาในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจักการให้บริการสังคมพื้นฐาน อาทิเช่น ด้านการศึกษา และการสาธารณสุข ฯลฯ
       2.   สารสนเทศสนับสนุนงานขององค์กรอย่างไร บ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
             ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป
การสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication)    ในบางองค์กรยังใช้การปิดประกาศโดยใช้กระดาษตามบอร์ดต่างๆ เพื่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ไปยังพนักงาน การปิดประกาศโดยใช้บอร์ดนี้เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวที่ไม่ส่งถึงเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของการสื่อสาร และหากจะทำการสื่อสารข้อความบางอย่างแบบถึงตัวพนักงานเฉพาะบุคคลทั้งองค์กร ก็อาจต้องใช้ต้นทุนที่สูงและยังเสียเวลาอีกด้วย ในเรื่องนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดเวลาในการสื่อสารลงไปได้หลายแบบ เช่น
การใช้อีเมล์ (Email)
      3. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น การหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดี ที่จะสามารถ แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างความได้เปรียบก็คือ ความรู้ (Knowledge)ที่ต้องมีการเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์ อันไปนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งมีกลยุทธ์ที่สำคัญประกอบด้วย 1. มีการวิจัยและพัฒนาที่ดี 2. มีการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีโอกาสในความเป็นไปได้ 3. มีการผลิตที่ทันสมัย 4. มีการถ่ายทอดและร่วมมือกับผู้ที่มีประสบการณ์ และ 5.มีการจัดการพาณิชยกรรมที่ดี  ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดในองค์กรและเป็นที่ยอมรับของบุคลากร อันจะนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและยิ่งกว่านั้นก็จะส่งผลทำให้ประเทศชาติมีขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ต่อไป
4. นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไปนี้
- ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
คือการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ (ระบบคอมพิวเตอร์) ของแต่ละธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน ผมไม่แน่ใจตัวอย่างจริงๆ ในประเทศไทยนะครับ เพราะไม่ได้ทำงานด้านนี้โดยตรง แต่ยกตัวอย่างเช่น สมมติ ธุรกิจของคุณ คือ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ดังนั้น ในห่วงโซ่อุปทานของคุณ จะเริ่มจาก supplier อาจจะเป็นโรงงาน แปรรูปไม้ จากนั้น ธุรกิจคุณจะนำไม้แปรรูปมาทำการผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ และส่งขายให้ลูกค้าคุณ อาจจะเป็น ร้านค้าปลีกด้านเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะขายต่อให้ผู้บริโภค ultimate consumers อีกต่อหนึ่ง ในโรงงานของคุณอาจจะมีระบบสารสนเทศจัดการด้านสินค้าคงคลัง ตามแผนการผลิต ซึ่ง เมื่อมีความต้องการวัตถุดิบ ข้อมูลดังกล่าวจะส่งไปที่ supplier ในทันที่ ผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อ supplier  จะทราบว่าธุรกิจคุณต้องการอะไรและดำเนินการจัดส่งมายังโรงงานของคุณเพื่อดำเนินการผลิตได้ทันท่วงที อีกทางหนึ่ง ร้านค้าปลีกด้านเฟอร์นิเจอร์อาจจะมีระบบดังกล่าว เช่นกัน เมื่อลูกค้าซื้อสินค้า และสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีกดังกล่าวลดลงในระดับที่ต้องการ ข้อมูลจะถูกส่งมายังบริษัทคุณ เพื่อคุณจะได้ทำการผลิตและจัดส่งไปทดแทนได้ทันที
-          ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์     (Customer Relationship Management: CRM)  ความหมาย       ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว กับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้า หรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด- ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
    ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศ ที่องค์กรสามารถนำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERPมาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศในองค์กรที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานลัก (Core Bussiness Process) ต่าง ๆในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันเป็ระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยง ณ เวลานั้นทันที (Real Time)
-          ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ด้วยการวางรากฐานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Organization) ตลอดจนนวัตกรรมอื่น ทำให้เกิดแนวคิดด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  โดยองค์การจะมีการใช้และการรับรู้มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Assets) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ขององค์กรความหมายของความรู้           สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้  อาทิเช่น ปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล และภาษาเอกซ์เอ็มแอล  ล้วนเป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีชั้นสูงของเคเอ็มเอสและถือเป็นพื้นฐานด้านนวัตกรรมใหม่ของสาขาการจัดการความรู้ในอนาคต
-          ระบบสารสนเทศด้านอัจริยะทางธุรกิจ
ระบบเครือข่ายอัจฉริยะยังจะต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้ และเข้าใจว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่วิ่งอยู่บนตัวมันคือข้อมูลอะไร มันไม่เพียงแค่รู้ว่ามันเป็นข้อมูลของแอพพลิเคชั่นใดเท่านั้น แต่ยังมองลึกลงไปด้วยว่า เป็นข้อมูลชนิดไหน หรือแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ กำลังทำชิ้นงาน หรือทำรายการอะไรอยู่ ถ้าเครือข่ายสามารถเข้าใจการทำงานของแอพพลิเคชั่นได้แล้ว แอพพลิเคชั่นก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่ งานบางอย่างที่เดิมเคยถูกประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์จะสามารถถูกย้ายมาทำงานบนเครือข่ายได้ ทำให้เซิรฟเวอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือเมื่อเครือข่ายมีความเข้าใจมากขึ้น มันก็สามารถที่จะเลือกให้บริการ และตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชั่นได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
นางสาววรรณดี สองศรี การจัดการ 3/2 เลขที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น